ข้อมูล+รายชื่อพรรณไม้ ดอยหลวงเชียงดาว
รายงานส่งอาจารย์
ผู้เข้าชมรวม
879
ผู้เข้าชมเดือนนี้
5
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
จำปีป่า MAGNOLIACEAE
Paramichelia baillonii (Pierre) Hu
ชื่ออื่น จุมปี (เชียงใหม่) จำปา (นครศรีธรรมราช) จำปาป่า (เลย)
จำปีป่าเป็นไม้ต้น สูงถึง 35 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูง ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา แตกเป็นร่องตามยาวของลำต้น หรือหลุดล่อนออกเป็นแผ่น เปลือกชั้นในสีเหลือง ยอดอ่อนมีหูใบหุ้ม กิ่งอ่อนมีรูระบายอากาศ ส่วนต่างๆ มีขนสีขาวหรือน้ำตาลปกคลุม ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ถึงรูปใบหอก กว้าง 5.58 ซม. ยาว 1522 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ เส้นแขนงใบ 1220 คู่ ก้านใบยาว 2.53.5 ซม. ดอก เดี่ยว ออกตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 510 มม กลีบดอกสีขาวนวล 1418 กลีบ กลีบชั้นนอกรูปขอบขนานเรียวยาว 2.5 ซม. กว้าง 0.5 ซม. กลีบดอกชั้นในสั้นและแคบกว่าชั้นนอก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก รังไข่รวมกันเป็นแท่ง ผล ออกรวมกันแน่นเป็นกลุ่ม รูปไข่แกมขอบขนาน กว้างประมาณ 4 ซม. ยาว 10 ซม. มีรูระบายอากาศกระจายทั่วไป เมื่อแก่เปลือกผลจะแตกออก ปล่อยให้เมล็ดสีแดงหลุดร่วงไปเหลือแต่แกนผล รูปคล้ายก้างปลาติดอยู่กับขั้วผล
จำปีป่ามีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบเขาและป่าดิบแล้งทั่วทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 6001,200 ม. ในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า จีน เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ออกดอกเดือนมิถุนายนกรกฎาคม ผลแก่เดือนสิงหาคมตุลาคม
เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนและเครื่องใช้ต่างๆ
ลาบแมว
ไม้กาง
ก่อแป้น ( Castanopsis diversifolia (Kurz) King )
ก่อแป้น ( Castanopsis echidnocarpa A.DC. )
ก่อหมวก
T
Quercus oidocarpa DC.
FAGACEAE
ก่อแดง ( Castanopsis hystrix A.DC. )
ก่อหม่น | T | Lithocarpus elegans Hatus. ex Soepadmo | FAGACEAE | 208 |
ทำไมจึงกล่าวว่าสาหร่ายและเชื้อราได้ประโยชน์ร่วมกัน?
นั่นก็เป็นเพราะการดำรงชีวิตไลเคนจะมีสาหร่ายเป็นผู้ผลิตเริ่มต้น เพราะสาหร่ายสามารถสร้างอาหารได้เองจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งผลพวงของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงก็คือจะได้แก๊สออกซิเจนออกมาด้วย แต่สาหร่ายจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการความชื้นและแร่ธาตุในการดำรงชีวิตด้วย ดังนั้นการที่สาหร่ายเลือกอยู่คู่กับเชื้อราในรูปของไลเคนนั้นก็เพราะเชื้อรามีความสามารถในการย่อยสลายซากอินทรีย์ให้กลายเป็นแร่ธาตุที่ง่ายต่อการนำไปใช้ และเส้นใยของเชื้อรา (Mycelium) ก็มีคุณสมบัติในการดูดเก็บความชื้นได้ดีอีกด้วย สาหร่ายจึงได้รับประโยชน์จากความสามารถของเชื้อราในด้านแร่ธาตุและความชื้นที่สาหร่ายต้องการ แต่สาหร่ายก็ตอบแทนให้กับเชื้อราคือการผลิตออกซิเจนให้กับเชื้อรานั่นเอง
ลักษณะเด่นของไลเคนก็คือ สาหร่ายและเชื้อราจะจับคู่กันแบบเฉพาะเจาะจงคือ หากพบสาหร่ายชนิดใดชนิดหนึ่งก็จะพบเชื้อราเพียงชนิดเดียว จะไม่มีการพบว่าสาหร่ายหรือเชื้อราจับคู่กับชนิดอื่น และสิ่งที่ไลเคนใช้เป็นที่ยึดเกาะเพื่ออยู่อาศัยส่วนมากจะได้แก่ ก้อนหิน หรือกิ่งไม้ ต้นไม้ ซึ่งการเจริญของไลเคนที่พบเห็นมีอยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบ คือ
1. แบบ Crustose Lichen มีลักษณะเป็นแผ่นแนบติดกับกิ่งไม้หรือก้อนหิน จนมองเห็นเป็นแผ่นเดียวกับกิ่งไม้หรือก้อนหินนั้น มีหลายสีขึ้นอยู่กับสาหร่ายและเชื้อราที่เจริญ
2. แบบ Foliose Lichen มีลักษณะคล้ายแบบแรก แต่ขอบจะมีลักษณะหยัก จะมีเฉพาะฐานติดอยู่กับก้อนหิน หรือกิ่งไม้มองดูคล้ายเห็นหูหนูที่แผ่ราบแต่มีขอบเผยอขึ้นเล็กน้อย ส่วนมากจะมีสีเขียว เขียวอมขาว หรือเกือบขาว
3. แบบ Frutiose Lichen มีลักษณะเป็นเส้นมีกิ่งก้านคล้ายต้นไม้ ส่วนฐานติดกับก้อนหินหรือกิ่งไม้ เช่น ฝอยลม (Usnec sp.)
4. แบบ Filamentose Lichen มีลักษณะคล้ายเส้นด้าย พบน้อยมาก
เราจะสามารถพบไลเคนในบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ มีออกซิเจน และความชื้น เช่นในสภาพป่าที่อุดมสมบรูณ์ แต่เราจะไม่ค่อยพบไลเคนเจริญในเมืองที่ซึ่งมีสภาพอากาศที่เป็นมลพิษ ดังนั้น ไลเคนจึงเป็นลักษณะของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่สามารถนำมาใช้เป็นดัชนีวัดความบริสุทธิ์ของสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
มะขามป้อม
ชื่อพื้นเมือง -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L.
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น ไม้ผลัดใบขนาดเล็ก สูงถึง 8 เมตร เรือนยอดโปร่ง ลำต้นคดงอ เปลือกต้นสี
น้ำตาลเทาหรือแต้มสีส้มออกครีม ผิวบางเรียบหลุดออกเป็นแผ่นกว้างๆ
เปลือกชั้นในสีชมพู
ใบ 0.9-2 x 0.2-0.4 ซม. ใบเดี่ยวในแนวระนาบ ลักษณะคล้ายใบแบบขนนก ใบ
อ่อนมีขนละเอียดมักจะมีแต้มสีแดง ใบแก่ไม่มีขน ก้านใบ 1 มม. มีหูใบเล็ก
ดอก เล็ก สีเขียวอ่อนออกครีม แต้มสีชมพู ออกเป็นช่อแน่น แต่ละช่อมีดอกตัว
เมียน้อยดอกและดอกตัวผู้หลายดอก ก้านดอกตัวผู้ 2.5 มม. กลีบเลี้ยง 5-6
อัน 1.5-2.5 มม. เรียงซ้อนกัน 2 วง ไม่มีกลีบดอก เกสรตัวผู้ 3 อัน เชื่อมกัน
เป็นแกนสั้นๆ ก้านดอกตัวเมีย 0.5 มม. กลีบเลี้ยงเล็กกว่าของดอกตัวผู้
เชื่อมกันที่ฐาน ก้านเกสีตัวเมียเชื่อมกัน ปลายแยกออก รังไข่ฝังตัวครั้งหนึ่ง
ในหมอนรองดอกที่มีระบาย
ผล กลม 1.3-2 ซม. ไม่มีก้าน สีเขียวค่อนข้างจะใสมีเส้นสีอ่อน ผลสุกสีเหลือง
ไม่แตกเนื้อฉ่ำรับประทานได้ค่อนข้างเปรี้ยว ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง 3 หน่วย แต่
ละหน่วยหุ้ม1-2เมล็ด
ลักษณะทางนิเวศวิทยา
พบทั่วไปในที่แห้งกว่า ที่กึ่งโล่งแจ้งทนทานต่อไฟป่า ที่คล้ายกันอีก 3 ชนิด
มีใบใหญ่กว่าดอกตัวเมียและผลมีก้านเรียวเล็ก ยาว 5 มม.
ผลงานอื่นๆ ของ niriahc ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ niriahc
ความคิดเห็น